Mind Mapping : ยุทธศาสตร์การเรียนรู้สู่การ "คิดเป็น" / ธเนศ ขำเกิด

By: ธเนศ ขำเกิดCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | การศึกษา | การพัฒนาการศึกษา In: ส่งเสริมเทคโนโลยี ปีที่ 27 ฉบับที่ 152 (สิงหาคม - กันยายน 2543) หน้า 165-167Summary: ตามปรัชญานิรมิตนิยม (constructivism) เชื่อว่ามนุษย์สามารถสร้างสรรค์สติปัญญาหรือภูมิปัญญา (Wisdom) ของตนเองได้ โดยเริ่มจากการแสวงหาข้อมูล (data) แล้วนำมาปฏิสัมพันธ์กันเข้าทำให้เกิดเป็นข้อมูลความรู้ (information) และนำข้อมูลความรู้มาจัดวิเคราะห์แยกแยะหรือจำแนกเป็นหมวดหมู่ สร้างสรรค์ทำให้เกิด (มีต่อ)Summary: เป็นความรู้ (knowledge) และขั้นสูงสุดคือ การนำความรู้เหล่านั้นมาเปรียบเทียบทดสอบกับความรู้เดิมแล้วรับหรือปรับเข้าด้วยกันทำให้เกิดสติปัญญาหรือภูมิปัญญา ที่เรียกว่าสหวิทยาการหรือบูรณาการ (interdisciplinary instructional approach) นั่นเอง Mind Mapping หรือแผนที่ความคิด เป็นเทคนิคการพัฒนาสติปัญญาอย่างหนึ่ง (มีต่อ)Summary: โดยนำทฤษฎีทางสมองไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ เป็นการพัฒนาสมองด้านซ้ายและด้านขวาให้ทำงานประสานสัมพันธ์กัน โดยสมองด้านซ้ายจะทำหน้าที่ในการวิเคราะห์คำ สัญลักษณ์ ตรรกวิทยา สมองด้านขวาจะทำหน้าที่ในการสังเคราะห์รูปแบบ สี รูปร่าง Mind Mapping ช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดกลุ่ม เนื้อหา (มีต่อ)Summary: การเฟ้นจำแนกการวิเคราะห์ การสรุปความคิดรวบยอด การระดมสมอง การวางแผน การแก้ปัญหา การจัดทำโครงสร้าง การขยายความคิด การบันทึกการประชุม การอภิปราย การบรรยาย การสัมภาษณ์ การบันทึกความจำ การจัดแฟ้ม ฯลฯ มีคุณค่าอย่างยิ่งสำหรับการคิดไตร่ตรองและการเรียนรู้ สามารถใช้ได้กับผู้เรียนผู้บริหารงานทุกระดับ (มีต่อ)Summary: อายุ ทุกสาขาวิชา Mind Mapping อาจสร้างโดยใช้เครื่องมือ (tools) ที่เป็นแผนภูมิกราฟิกได้หลายชนิดตามความเหมาะสมของสาระการเรียนรู้นั้นๆ และตามความสนใจของผู้นำเสนอ ขั้นตอนการทำ Mind Mapping คือ 1.กำหนดคำถามนำ หรือประเด็นปัญหาทำให้คิดวิเคราะห์สังเคราะห์ หรือระดมสมอง 2.ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือกลุ่มระดมสมอง (มีต่อ)Summary: พิจารณาใช้เครื่องมือที่เหมาะสมที่จะสามารถนำเสนอเป็นแผนที่ความคิดตามประเด็นปัญหาที่กำหนดก่อนที่จะทำ Mind Mapping ได้ผู้เรียนจะต้องรู้จักเครื่องมือหรือกราฟิกหลายๆ ชนิด เพื่อจะได้เลือกนำไปใช้สร้าง Mind Mapping ให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้อย่างเหมาะสมและสัมพันธ์กัน ซึ่งแนวการจัดการศึกษาตาม (มีต่อ)Summary: พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่ยึดหลักผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องการให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพนั้น Mind Mapping น่าจะเป็นยุทธศาสตร์การเรียนรู้ที่สำคัญอย่างหนึ่งตามแนวการจัดการศึกษาดังกล่าว
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ตามปรัชญานิรมิตนิยม (constructivism) เชื่อว่ามนุษย์สามารถสร้างสรรค์สติปัญญาหรือภูมิปัญญา (Wisdom) ของตนเองได้ โดยเริ่มจากการแสวงหาข้อมูล (data) แล้วนำมาปฏิสัมพันธ์กันเข้าทำให้เกิดเป็นข้อมูลความรู้ (information) และนำข้อมูลความรู้มาจัดวิเคราะห์แยกแยะหรือจำแนกเป็นหมวดหมู่ สร้างสรรค์ทำให้เกิด (มีต่อ)

เป็นความรู้ (knowledge) และขั้นสูงสุดคือ การนำความรู้เหล่านั้นมาเปรียบเทียบทดสอบกับความรู้เดิมแล้วรับหรือปรับเข้าด้วยกันทำให้เกิดสติปัญญาหรือภูมิปัญญา ที่เรียกว่าสหวิทยาการหรือบูรณาการ (interdisciplinary instructional approach) นั่นเอง Mind Mapping หรือแผนที่ความคิด เป็นเทคนิคการพัฒนาสติปัญญาอย่างหนึ่ง (มีต่อ)

โดยนำทฤษฎีทางสมองไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ เป็นการพัฒนาสมองด้านซ้ายและด้านขวาให้ทำงานประสานสัมพันธ์กัน โดยสมองด้านซ้ายจะทำหน้าที่ในการวิเคราะห์คำ สัญลักษณ์ ตรรกวิทยา สมองด้านขวาจะทำหน้าที่ในการสังเคราะห์รูปแบบ สี รูปร่าง Mind Mapping ช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดกลุ่ม เนื้อหา (มีต่อ)

การเฟ้นจำแนกการวิเคราะห์ การสรุปความคิดรวบยอด การระดมสมอง การวางแผน การแก้ปัญหา การจัดทำโครงสร้าง การขยายความคิด การบันทึกการประชุม การอภิปราย การบรรยาย การสัมภาษณ์ การบันทึกความจำ การจัดแฟ้ม ฯลฯ มีคุณค่าอย่างยิ่งสำหรับการคิดไตร่ตรองและการเรียนรู้ สามารถใช้ได้กับผู้เรียนผู้บริหารงานทุกระดับ (มีต่อ)

อายุ ทุกสาขาวิชา Mind Mapping อาจสร้างโดยใช้เครื่องมือ (tools) ที่เป็นแผนภูมิกราฟิกได้หลายชนิดตามความเหมาะสมของสาระการเรียนรู้นั้นๆ และตามความสนใจของผู้นำเสนอ ขั้นตอนการทำ Mind Mapping คือ 1.กำหนดคำถามนำ หรือประเด็นปัญหาทำให้คิดวิเคราะห์สังเคราะห์ หรือระดมสมอง 2.ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือกลุ่มระดมสมอง (มีต่อ)

พิจารณาใช้เครื่องมือที่เหมาะสมที่จะสามารถนำเสนอเป็นแผนที่ความคิดตามประเด็นปัญหาที่กำหนดก่อนที่จะทำ Mind Mapping ได้ผู้เรียนจะต้องรู้จักเครื่องมือหรือกราฟิกหลายๆ ชนิด เพื่อจะได้เลือกนำไปใช้สร้าง Mind Mapping ให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้อย่างเหมาะสมและสัมพันธ์กัน ซึ่งแนวการจัดการศึกษาตาม (มีต่อ)

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่ยึดหลักผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องการให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพนั้น Mind Mapping น่าจะเป็นยุทธศาสตร์การเรียนรู้ที่สำคัญอย่างหนึ่งตามแนวการจัดการศึกษาดังกล่าว