กระซู่

Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | กระซู่ | การอนุรักษ์สัตว์ป่า In: เส้นทางสีเขียว ฉบับที่ 4 (มิถุนายน-กันยายน 2542) หน้า 34Summary: กระซู่เป็นสัตว์ในวงศ์ RHINO CEROTIDAE จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน 9 ชนิด ของประเทศไทย โดยจัดไว้ในพวกที่ใกล้สูญพันธ์ อันเนื่องมาจากการถูกล่าเพื่อเอานอและอวัยวะทุกส่วนของตัว ซึ่งเรียกกันว่า มีฤทธิ์ ทางเป็นยาเป็นสัตว์จำพวกเดียวกับแรด แต่มีขนาดลำตัวเล็กกว่า มีหนังหนาและขนขึ้นปกคลุมทั่วตัวโดยเฉพาะในตัวอายุน้อย ซึ่งขนนี้จะลดน้อยลงเมื่อมีอายุมากขึ้น สีลำตัวโดยทั่วไปออกสีเทาคล้ายสีขี้เถ้า ด้านหลังลำตัวจะปรากฏรอบพับของหนังเพียงพับเดียว ตราบริเวณด้านหลังของขาคู่หน้าที้งสองเพศจะมีนอ 2 นอ นอหน้ามีความยาวประมาณ 25 ซม. นอหลังยาวไม่เกิน 10 ซม. หรือเป็นเพียงตุ่มนูนขึ้นมาในตัวเมีย กระซู่ปีนเขาได้เก่งมีประสาทในการรับกลิ่นดีมาก ออกหากินในเวลากลางคืน อาหารได้แก่ ใบไม้ กิ่งไม้ และผลไม้ป่าบางชนิด (มีต่อ)Summary: ปกติกระซู่จะใช้ชีวิตโดดเดี่ยวยกเว้นฤดูผสมพันธ์หรือตัวเมียเลี้ยงลูกอ่อนโดยตกลูกครั้งละ 1 ตัว มีระยะตั้งท้อง 7-8 เดือน ในที่เลี้ยงกระซู๋มีอายุยืนถึง 32 ปี จะอาศัยตามป่าเขาสูงที่มีหนาลบทึบจะลงมาอยู่ในป่าที่ราบต่ำเฉพาะในตอนปลายฤดูฝนซ้ำในระยะนั้นมีปลักและน้ำอยู่ทั่วไป กระซู่มีเขตแพร่กระจายตั้งแต่แคว้นอัสสัมในอินเดีย บังกลาเทศ พม่า ไทย เวียตนาม มาลายู สุมาตรา และบอร์เนียว ส่วนในประเทศไทยมีรายงานการพบในบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหลายแห่ง อาทิ ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี และคลองแสน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และในบริเวณอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง เช่น แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และเขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา และบริเวณป่ารอยต่อระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

กระซู่เป็นสัตว์ในวงศ์ RHINO CEROTIDAE จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน 9 ชนิด ของประเทศไทย โดยจัดไว้ในพวกที่ใกล้สูญพันธ์ อันเนื่องมาจากการถูกล่าเพื่อเอานอและอวัยวะทุกส่วนของตัว ซึ่งเรียกกันว่า มีฤทธิ์ ทางเป็นยาเป็นสัตว์จำพวกเดียวกับแรด แต่มีขนาดลำตัวเล็กกว่า มีหนังหนาและขนขึ้นปกคลุมทั่วตัวโดยเฉพาะในตัวอายุน้อย ซึ่งขนนี้จะลดน้อยลงเมื่อมีอายุมากขึ้น สีลำตัวโดยทั่วไปออกสีเทาคล้ายสีขี้เถ้า ด้านหลังลำตัวจะปรากฏรอบพับของหนังเพียงพับเดียว ตราบริเวณด้านหลังของขาคู่หน้าที้งสองเพศจะมีนอ 2 นอ นอหน้ามีความยาวประมาณ 25 ซม. นอหลังยาวไม่เกิน 10 ซม. หรือเป็นเพียงตุ่มนูนขึ้นมาในตัวเมีย กระซู่ปีนเขาได้เก่งมีประสาทในการรับกลิ่นดีมาก ออกหากินในเวลากลางคืน อาหารได้แก่ ใบไม้ กิ่งไม้ และผลไม้ป่าบางชนิด (มีต่อ)

ปกติกระซู่จะใช้ชีวิตโดดเดี่ยวยกเว้นฤดูผสมพันธ์หรือตัวเมียเลี้ยงลูกอ่อนโดยตกลูกครั้งละ 1 ตัว มีระยะตั้งท้อง 7-8 เดือน ในที่เลี้ยงกระซู๋มีอายุยืนถึง 32 ปี จะอาศัยตามป่าเขาสูงที่มีหนาลบทึบจะลงมาอยู่ในป่าที่ราบต่ำเฉพาะในตอนปลายฤดูฝนซ้ำในระยะนั้นมีปลักและน้ำอยู่ทั่วไป กระซู่มีเขตแพร่กระจายตั้งแต่แคว้นอัสสัมในอินเดีย บังกลาเทศ พม่า ไทย เวียตนาม มาลายู สุมาตรา และบอร์เนียว ส่วนในประเทศไทยมีรายงานการพบในบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหลายแห่ง อาทิ ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี และคลองแสน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และในบริเวณอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง เช่น แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และเขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา และบริเวณป่ารอยต่อระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย