เรือบรรทุกน้ำมัน : ผลกระทบและมาตรการทางด้านสิ่งแวดล้อม / อรุณ อัครวโรทัย, สุรพล มีเสถียน

By: อรุณ อัครวโรทัยContributor(s): สุรพล มีเสถียนCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ปิโตรเลียม -- มลพิษ In: วิศวกรรมสาร ฉบับ ว.ส.ท. เทคโนโลยี ปีที่ 53 ฉบับที่ 3 (มีนาคม 2543) หน้า 69-74Summary: การพัฒนาประเทศ ปัจจัยหลักที่สำคัญหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ แหล่งเชื้อเพลิงพลังงานจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจำนวนมาก ผลจากการมีแหล่งเชื้อเพลิงพลังงานน้ำมันจะก่อให้กระบวนการผลิตและกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นตามมามากมาย ในการขนส่งผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมนั้นจำเป็นต้องใช้เส้นทางน้ำเป็นหลัก ซึ่งจะได้ทั้งความประหยัดค่าใช้จ่ายได้ปริมาณมากตามที่ต้องการ ความสะดวก และความปลอดภัย ในแต่ละปีจะมีสารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอน (มีต่อ)Summary: ซึ่งรวมทั้งน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากแหล่งต่างๆ ปนเปื้อนลงสู่ทะเลและมหาสมุทรประมาณถึง 3.2ล้านตัน หรือเทียบเท่ากับ 22ล้านบาร์เรลต่อปี สาเหตุของการทำให้น้ำมันปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำมีหลายสาเหตุด้วยกัน ทั้งที่เกิดจากระหว่างการปฏิบัติงานโดยเจตนาหรือไม่ได้ตั้งใจ รวมถึงอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากเหตุสุดวิสัยและภัยธรรมชาติ แม้ว่าการเกิดอุบัติเหตุเรือบรรทุกน้ำมันหกรั่วไหลในประเทศไทยจะยังมีไม่ถี่มากนัก (มีต่อ)Summary: แต่การเกิดอุบัติเหตุขึ้นในแต่ละครั้งที่ผ่านมามีปริมาณการรั่วไหลของสารน้ำมันปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำในปริมาณมากในแต่ละปี อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นประมาณร้อยละ 70 เกิดจากคนเป็นผู้กระทำ ซึ่งก่อให้เดผลกระทบต่อสภาพสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อมในบริเวณพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งความรุนแรงจะมีมากหรือน้อยจะใช้ระยะเวลาในการแก้ไขให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้เร็วหรือไม่นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ในสภาพของการตามแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้น (มีต่อ)Summary: จากผลกระทบเรือบรรทุกน้ำมันหกรั่วไหลนั้นเป็นเรื่องยุ่งยากในการขจัดคราบน้ำมันและมีค่าใช้จ่ายที่สูงมากและเป็นเรื่องยากในการประเมินค่าผลกระทบของสิ่งแวดล้อมที่ต้องสูญเสียไป ดังนั้นในการจัดการที่ดีที่สุดก็น่าที่จะเป็นการศึกษาหามาตรการป้องกันและควบคุมความปลอดภัยให้ดีที่สุด รวมทั้งการหมั่นฝึกฝนการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทางด้านความปลอดภัยให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกระดับได้มีความรู้ความเข้าใจ และเกิดความชำนาญอยู่เสมอ จึงเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการลดความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นและลดความเสี่ยงอุบัติเหตุต่างๆ ลงได้
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การพัฒนาประเทศ ปัจจัยหลักที่สำคัญหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ แหล่งเชื้อเพลิงพลังงานจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจำนวนมาก ผลจากการมีแหล่งเชื้อเพลิงพลังงานน้ำมันจะก่อให้กระบวนการผลิตและกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นตามมามากมาย ในการขนส่งผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมนั้นจำเป็นต้องใช้เส้นทางน้ำเป็นหลัก ซึ่งจะได้ทั้งความประหยัดค่าใช้จ่ายได้ปริมาณมากตามที่ต้องการ ความสะดวก และความปลอดภัย ในแต่ละปีจะมีสารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอน (มีต่อ)

ซึ่งรวมทั้งน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากแหล่งต่างๆ ปนเปื้อนลงสู่ทะเลและมหาสมุทรประมาณถึง 3.2ล้านตัน หรือเทียบเท่ากับ 22ล้านบาร์เรลต่อปี สาเหตุของการทำให้น้ำมันปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำมีหลายสาเหตุด้วยกัน ทั้งที่เกิดจากระหว่างการปฏิบัติงานโดยเจตนาหรือไม่ได้ตั้งใจ รวมถึงอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากเหตุสุดวิสัยและภัยธรรมชาติ แม้ว่าการเกิดอุบัติเหตุเรือบรรทุกน้ำมันหกรั่วไหลในประเทศไทยจะยังมีไม่ถี่มากนัก (มีต่อ)

แต่การเกิดอุบัติเหตุขึ้นในแต่ละครั้งที่ผ่านมามีปริมาณการรั่วไหลของสารน้ำมันปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำในปริมาณมากในแต่ละปี อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นประมาณร้อยละ 70 เกิดจากคนเป็นผู้กระทำ ซึ่งก่อให้เดผลกระทบต่อสภาพสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อมในบริเวณพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งความรุนแรงจะมีมากหรือน้อยจะใช้ระยะเวลาในการแก้ไขให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้เร็วหรือไม่นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ในสภาพของการตามแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้น (มีต่อ)

จากผลกระทบเรือบรรทุกน้ำมันหกรั่วไหลนั้นเป็นเรื่องยุ่งยากในการขจัดคราบน้ำมันและมีค่าใช้จ่ายที่สูงมากและเป็นเรื่องยากในการประเมินค่าผลกระทบของสิ่งแวดล้อมที่ต้องสูญเสียไป ดังนั้นในการจัดการที่ดีที่สุดก็น่าที่จะเป็นการศึกษาหามาตรการป้องกันและควบคุมความปลอดภัยให้ดีที่สุด รวมทั้งการหมั่นฝึกฝนการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทางด้านความปลอดภัยให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกระดับได้มีความรู้ความเข้าใจ และเกิดความชำนาญอยู่เสมอ จึงเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการลดความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นและลดความเสี่ยงอุบัติเหตุต่างๆ ลงได้