การศึกษาชีววิทยาของด้วงถั่ว Callosobruchus maculatus F. (Coleoptera : Bruchidae) และแดนเบียนหนอน Dinarmus baslis Rondani (Hymenoptera : Pteromalidae) ในประเทศไทย / อุ่นเรือน สิริวานิชกุล

By: อุ่นเรือน ศิริวานิชกุลCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): ด้วงถั่ว | หนอน | ศัตรูพืช | ชีววิทยา -- การศึกษา | SCI-TECH In: วิทยาศาสตร์ลาดกระบัง ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (สิงหาคม 2540) หน้า 36 - 48Summary: ด้วงถั่ว (Callosobruchus maculatus F.) เป็นแมลงศัตรูในโรงเก็บที่สำคัญของเมล็ดถั่วเขียวและถั่วชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทย จากการศึกษาคุณลักษณะทางชีววิทยาพบว่าตัวเต็มวัยของด้วงถั่วตัวหนึ่งสามารถวางไข่ได้ 68-92 ฟอง ระยะไข่ใช้เวลา 5-7 วัน ระยะหนอนมีทั้งหมด 4 ระยะ ซึ่งแต่ละระยะใช้เวลาดังต่อไปนี้ 2-3 วัน, 2-3 วัน, 2-4 วัน และ 3-5 วัน ตามลำดับ การเจริญเติบโตของตัวหนอนศึกษาโดยใช้ความกว้างของหัวกระโหลกเป็นหลัก พบว่าอัตราส่วนการเจริญเติบโตทางเรขาคณิตโดยเฉลี่ยเท่ากับ 1.634 ระยะก่อนเข้าดักแด้ใช้เวลา 3-4 วัน และระยะดักแด้ใช้เวลา 4-5 วัน ตัวเต็มวัยเพศผู้และตัวเต็มวัยเพศเมียมีอายุขัย 5-7 วัน และ 5-8 วัน ตามลำดับ วงจรชีวิตของด้วงถั่วชนิดนี้นับตั้งแต่ระยะไข่ จนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 21-24 วัน ศัตรูธรรมชาติที่พบในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ แตนเบียนไข่ (Uscana semifumipennis Girault) และแตนเบียนหนอน (Dinarmus basalis Rondani) ซึ่งแตนเบียนหนอนชนิดนี้มีวงจรชีวิตตั้งแต่ระยะไข่จนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัย ดังนี้ แตนเบียนหนอนเพศผู้และเพศเมียมีวงจรชีวิตใช้เวลาทั้งสิ้น 12.027 + 2.291 วัน และ 12.055 + 2.978 วัน ตามลำดับ โดยแบ่งเป็นระยะไข่ ระยะหนอน และระยะดักแด้ ใช้เวลาในแต่ละระยะดังนี้ 21.6 + 3.864 ชั่วโมง 5.0 + 1.155 วัน และ 5.9 + 0.738 วัน ตามลำดับ ตัวเต็มวัยเพศผู้และตัวเต็มวัยเพศเมียของแตนเบียนหนอนมีอายุขัย 14.33 + 2.082 วัน และ 22.5 + 1.915 วัน ตามลำดับ
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ด้วงถั่ว (Callosobruchus maculatus F.) เป็นแมลงศัตรูในโรงเก็บที่สำคัญของเมล็ดถั่วเขียวและถั่วชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทย จากการศึกษาคุณลักษณะทางชีววิทยาพบว่าตัวเต็มวัยของด้วงถั่วตัวหนึ่งสามารถวางไข่ได้ 68-92 ฟอง ระยะไข่ใช้เวลา 5-7 วัน ระยะหนอนมีทั้งหมด 4 ระยะ ซึ่งแต่ละระยะใช้เวลาดังต่อไปนี้ 2-3 วัน, 2-3 วัน, 2-4 วัน และ 3-5 วัน ตามลำดับ การเจริญเติบโตของตัวหนอนศึกษาโดยใช้ความกว้างของหัวกระโหลกเป็นหลัก พบว่าอัตราส่วนการเจริญเติบโตทางเรขาคณิตโดยเฉลี่ยเท่ากับ 1.634 ระยะก่อนเข้าดักแด้ใช้เวลา 3-4 วัน และระยะดักแด้ใช้เวลา 4-5 วัน ตัวเต็มวัยเพศผู้และตัวเต็มวัยเพศเมียมีอายุขัย 5-7 วัน และ 5-8 วัน ตามลำดับ วงจรชีวิตของด้วงถั่วชนิดนี้นับตั้งแต่ระยะไข่ จนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 21-24 วัน ศัตรูธรรมชาติที่พบในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ แตนเบียนไข่ (Uscana semifumipennis Girault) และแตนเบียนหนอน (Dinarmus basalis Rondani) ซึ่งแตนเบียนหนอนชนิดนี้มีวงจรชีวิตตั้งแต่ระยะไข่จนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัย ดังนี้ แตนเบียนหนอนเพศผู้และเพศเมียมีวงจรชีวิตใช้เวลาทั้งสิ้น 12.027 + 2.291 วัน และ 12.055 + 2.978 วัน ตามลำดับ โดยแบ่งเป็นระยะไข่ ระยะหนอน และระยะดักแด้ ใช้เวลาในแต่ละระยะดังนี้ 21.6 + 3.864 ชั่วโมง 5.0 + 1.155 วัน และ 5.9 + 0.738 วัน ตามลำดับ ตัวเต็มวัยเพศผู้และตัวเต็มวัยเพศเมียของแตนเบียนหนอนมีอายุขัย 14.33 + 2.082 วัน และ 22.5 + 1.915 วัน ตามลำดับ