สะพานพระราม3 เทคโนโลยีก่อสร้างเพื่อพัฒนาผู้รับเหมาไทย

Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): การก่อสร้าง | SCI-TECH | สะพานพระราม 3 In: ข่าวช่าง ปีที่ 27 ฉบับที่ 325 (มิถุนายน 2542) หน้า 55-58Summary: วิธีการแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ นั้นถูกหยิบยกมาใช้หลายวิธี ซึ่งบางวิธีก็ได้รับการพิสูจน์ว่าช่วยทำให้สภาพการจราจรดีขึ้น ในขณะเดียวกันบางวิธีก็ทำให้การจราจรเลวลง ไม่ว่าจะเป็นวิธีการใดต่างก็มุ่งหวังว่าจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับการแก้ปัญหาการจราจร ที่มาของสะพานพระราม 3 โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานกรุงเทพในความดูแลของกรมโยธาธิการ ได้รับการขนานนามอย่างไม่เป็นทางการว่า "สะพานพระราม 3" ด้วยสาเหตุที่การจราจรติดขัดเนื่องจากสภาพคอขวดของสะพานกรุงเทพฯและบริเวณใกล้เคียง รวมถึงปัญหาของสะพานกรุงเทพเองซึ่งอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม ต้องทำการซ่อมแซมอยู่เสมอและไม่สามารถรับน้ำหนักบรรทุกตามที่กฎหมายกำหนดไว้ นอกจากนั้นสะพานกรุงเทพซึ่งเป็นสะพานโครงเหล็กมีจำนวนช่องจราจรเพียง 3 ช่องเท่านั้น แล้วยังต้องเปิดให้เรือผ่านไปมาทำให้การจราจรของยวดยานไม่สะดวก คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้กรมโยธาธิการเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอีก 1 สะพาน โครงการสะพานพระราม 3 ประกอบด้วยการก่อสร้างสะพานใหม่ทางด้านเหนือของสะพานกรุงเทพเดิม โดยจุดเริ่มต้นของโครงการเริ่มที่ถนนรัชดาภิเษกในฝั่งธนบุรี และสิ้นสุดลงที่ถนนพระรามที่ 3 ในฝั่งกรุงเทพ โดยรวมความยาวของโครงสร้างสะพานและเชิงลาดทั้งหมดประมาณ 3.6 กิโลเมตร โครงสร้างตัวสะพานที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นโครงสร้างคานคอนกรีตอัดแรง (มีต่อ)Summary: ซึ่งสะพานพระราม3 แห่งนี้มีความยาวที่สุดในประเทศไทย โดยมีช่วงยาวกลางน้ำถึง 226 เมตร ปัญหาทางด้านงานก่อสร้างในช่วงที่ผ่านมาในช่วงแรกมีปัญหาเรื่องการเวนคืนที่ดินของประชาชนที่อยู่รอบข้าง ซึ่งทำให้งานล่าช้าออกไป ซึ่งเป็นปัญหาปกติของการก่อสร้างสาธารณูปโภค สำหรับการเปิดสะพานพระราม3 อย่างเป็นทางการนั้น สามารถเปิดใช้ได้ภายในเดือนสิงหาคม 2542 ถือได้ว่า "สะพานพระราม3" นอกจากจะเป็นนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีก่อสร้างในยุค 2000 ที่จะช่วยผ่อนคลายปัญหาจราจรในย่างวิกฤติแห่งหนึ่งได้แล้วยังเป็นการเปิดโลกกว้างให้สถาปนิกวิศวกรและผู้รับเหมาก่อสร้างของไทย สามารถเข้าไปจับต้องวิชาการด้านนี้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นอีกด้วย
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

วิธีการแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ นั้นถูกหยิบยกมาใช้หลายวิธี ซึ่งบางวิธีก็ได้รับการพิสูจน์ว่าช่วยทำให้สภาพการจราจรดีขึ้น ในขณะเดียวกันบางวิธีก็ทำให้การจราจรเลวลง ไม่ว่าจะเป็นวิธีการใดต่างก็มุ่งหวังว่าจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับการแก้ปัญหาการจราจร ที่มาของสะพานพระราม 3 โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานกรุงเทพในความดูแลของกรมโยธาธิการ ได้รับการขนานนามอย่างไม่เป็นทางการว่า "สะพานพระราม 3" ด้วยสาเหตุที่การจราจรติดขัดเนื่องจากสภาพคอขวดของสะพานกรุงเทพฯและบริเวณใกล้เคียง รวมถึงปัญหาของสะพานกรุงเทพเองซึ่งอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม ต้องทำการซ่อมแซมอยู่เสมอและไม่สามารถรับน้ำหนักบรรทุกตามที่กฎหมายกำหนดไว้ นอกจากนั้นสะพานกรุงเทพซึ่งเป็นสะพานโครงเหล็กมีจำนวนช่องจราจรเพียง 3 ช่องเท่านั้น แล้วยังต้องเปิดให้เรือผ่านไปมาทำให้การจราจรของยวดยานไม่สะดวก คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้กรมโยธาธิการเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอีก 1 สะพาน โครงการสะพานพระราม 3 ประกอบด้วยการก่อสร้างสะพานใหม่ทางด้านเหนือของสะพานกรุงเทพเดิม โดยจุดเริ่มต้นของโครงการเริ่มที่ถนนรัชดาภิเษกในฝั่งธนบุรี และสิ้นสุดลงที่ถนนพระรามที่ 3 ในฝั่งกรุงเทพ โดยรวมความยาวของโครงสร้างสะพานและเชิงลาดทั้งหมดประมาณ 3.6 กิโลเมตร โครงสร้างตัวสะพานที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นโครงสร้างคานคอนกรีตอัดแรง (มีต่อ)

ซึ่งสะพานพระราม3 แห่งนี้มีความยาวที่สุดในประเทศไทย โดยมีช่วงยาวกลางน้ำถึง 226 เมตร ปัญหาทางด้านงานก่อสร้างในช่วงที่ผ่านมาในช่วงแรกมีปัญหาเรื่องการเวนคืนที่ดินของประชาชนที่อยู่รอบข้าง ซึ่งทำให้งานล่าช้าออกไป ซึ่งเป็นปัญหาปกติของการก่อสร้างสาธารณูปโภค สำหรับการเปิดสะพานพระราม3 อย่างเป็นทางการนั้น สามารถเปิดใช้ได้ภายในเดือนสิงหาคม 2542 ถือได้ว่า "สะพานพระราม3" นอกจากจะเป็นนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีก่อสร้างในยุค 2000 ที่จะช่วยผ่อนคลายปัญหาจราจรในย่างวิกฤติแห่งหนึ่งได้แล้วยังเป็นการเปิดโลกกว้างให้สถาปนิกวิศวกรและผู้รับเหมาก่อสร้างของไทย สามารถเข้าไปจับต้องวิชาการด้านนี้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นอีกด้วย