การศึกษาการใช้อุปกรณ์พยุงเอวในผู้ที่มีอาการปวดหลังจากการเสื่อมของกระดูกสันหลังส่วนเอว / พิมพ์อำไพ เวนเซล

By: พิมพ์อำไพ เวนเซลCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | กระดูก -- โรค | กระดูกสันหลัง | ปวดหลัง -- วิจัย In: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2542) หน้า 67-81Summary: จุดประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อศึกษาสาเหตุของอาการปวดหลังจากการเสื่อมของกระดูกสันหลังส่วนเอว และศึกษาผลของการใช้อุปกรณ์พยุงเอวในผู้ป่วย จำนวน 63 คน ที่มารักษาที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ระหว่างปี พ.ศ 2538 ถึง พ.ศ 2539 อายุระหว่าง 22 - 74 ปีอายุเฉลี่ย 43 ปี ผลของการศึกษาครั้งนี้พบว่า อาการปวดหลังมี (มีต่อ)Summary: สาเหตุจากหมอนรองกระดูกปลิ้น คิดเป็นร้อยละ 12.69 โรคของข้อต่อฟาเซ็ทร้อยละ 12.69 กระดูกสันหลังเคลื่อนไปข้างหน้า ร้อยละ 14.29 กระดูกสันหลังแคบจากกระดูกหรือเนื้อเยื่ออ่อนหนาตัวขึ้น ร้อยละ 25.39 และกระดูกสันหลังเสื่อม ร้อยละ 34.94 การใช้อุปกรณ์พยุงเอวได้ผลใน 3 ด้าน คือ การกำจัดการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังการเพิ่ม (มีต่อ)Summary: ความดันภายในช่องท้องและการลดแรงกดของหมอนรองกระดูก การเปรียบเทียบการใช้อุปกรณ์พยุงเอวและการไม่ใช้อุปกรณ์พยุงเอว ในด้านการจำกัดการเคลื่อนไหวและด้านการเพิ่มความดันภายในช่องท้องมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ส่วนการลดแรงกดที่หมอนรองกระดูกสันหลังได้ผลในสาเหตุต่างๆ ดังกล่าว ยกเว้นในรายหมอนรองกระดูกปลิ้น
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

จุดประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อศึกษาสาเหตุของอาการปวดหลังจากการเสื่อมของกระดูกสันหลังส่วนเอว และศึกษาผลของการใช้อุปกรณ์พยุงเอวในผู้ป่วย จำนวน 63 คน ที่มารักษาที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ระหว่างปี พ.ศ 2538 ถึง พ.ศ 2539 อายุระหว่าง 22 - 74 ปีอายุเฉลี่ย 43 ปี ผลของการศึกษาครั้งนี้พบว่า อาการปวดหลังมี (มีต่อ)

สาเหตุจากหมอนรองกระดูกปลิ้น คิดเป็นร้อยละ 12.69 โรคของข้อต่อฟาเซ็ทร้อยละ 12.69 กระดูกสันหลังเคลื่อนไปข้างหน้า ร้อยละ 14.29 กระดูกสันหลังแคบจากกระดูกหรือเนื้อเยื่ออ่อนหนาตัวขึ้น ร้อยละ 25.39 และกระดูกสันหลังเสื่อม ร้อยละ 34.94 การใช้อุปกรณ์พยุงเอวได้ผลใน 3 ด้าน คือ การกำจัดการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังการเพิ่ม (มีต่อ)

ความดันภายในช่องท้องและการลดแรงกดของหมอนรองกระดูก การเปรียบเทียบการใช้อุปกรณ์พยุงเอวและการไม่ใช้อุปกรณ์พยุงเอว ในด้านการจำกัดการเคลื่อนไหวและด้านการเพิ่มความดันภายในช่องท้องมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ส่วนการลดแรงกดที่หมอนรองกระดูกสันหลังได้ผลในสาเหตุต่างๆ ดังกล่าว ยกเว้นในรายหมอนรองกระดูกปลิ้น