ความสัมพันธ์ของปริมาณการเข้าทำลาย ของศัตรูพืชต่อการพัฒนาของมังคุด / เกรียงไกร จำเริญมา ... [และคนอื่นๆ]

Contributor(s): เกรียงไกร จำเริญมาCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): มังคุด -- ศัตรูพืช | SCI-TECH In: กีฏและสัตววิทยา ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม 2452) หน้า 13 - 22Summary: การศึกษาระหว่าง ตุลาคม 2450 - สิงหาคม 2541 ที่สวนมังคุด ศูนย์วิจัยพืชสวน จันทบุรี ซึ่งหลังการ เก็บเกี่ยวผลผลิต ในปี 2540 แล้ว ได้เตรียมต้นมังคุด ให้มีความสมบูรณ์ พร้อมที่จะออกดอกออกผล ในปีต่อไป โดยเฉพาะมีการกระตุ้น ให้แตกใบ อ่อน อย่างพร้อมเพรียง โดยใช้ไทโอยูเรีย (มีต่อ)Summary: เมื่อมังคุด มีการแตกใบอ่อน ในเดือนตุลาคม 2540 จึงเริ่มดำเนิน การทดลอง โดยวางแผนการทดลอง แบบ RCB มี 6 ซ้ำ 5กรรมวิธี คือ ไม่ตัดใบ ตัดใบอ่อนที่คลี่ เต็มที่แล้ว ในอัตรา 20 50 75 และ 100% ของพื้นที่ ใบอ่อนทั่วทั้งต้น (แทนการกัดกิน ของแมลง) โดยใช้มังคุดซ้ำละ 1 ต้น (มีต่อ)Summary: บันทึกการพัฒนา ของยอดมังคุด ที่ถูกตัดใบอ่อน ซ้ำละ 300ยอด โดยแบ่งเป็นยอดที่ระดับ บน กลาง และล่าง ของทรงพุ่มระดับละ 100 ยอด ทำการสำรวจทุกๆ14 วัน ผลการศึกษาพบว่า มังคุดที่ถูกทำลาย โดยการตัดใบมากๆ จะมีการแตกใบอ่อน บ่อยครั้งเพื่อชดเชยใบ ที่ถูกที่ทำลายไป โดยเฉพาะเมื่อใบ ถูกทำลาย (มีต่อ)Summary: โดยการตัดใบ 100% ระหว่างช่วง การศึกษามีการแตกใบอ่อน 4 ครั้ง ในเดือน ธันวาคม 2540 มกราคม มีนาคม และมิถุนายน 2541 พบแตกใบอ่อน 85.22,87.95,99.35, และ 85.42% ตามลำดับ ขณะที่ยอดซึ่ง ไม่ถูกทำลาย มีการแตกใบอ่อน 3ครั้ง ในอัตรา 2.29,83.80 และ 99.28 % ตามลำดับ ยอดที่ถูกทำลาย 100% ออกดอกสูงสุดเฉลี่ย 12.13% (มีต่อ)Summary: และติดผลเฉลี่ย 1.33% แตกต่างทางสถิติ กับมังคุด ที่ไม่มีการตัดใบอ่อน ซึ่งออกดอกสูงสุดเฉลี่ย 33.75% และติดผลเฉลี่ย 20.44% ซึ่งผลโดยรวมแล้ว มังคุดที่ใบถูกทำลาย โดยการตัดใบ 25-100% มีการออกดอก และติดผลลดลง 15.87-21.66% และ16.44-19.11% ตามลำดับ (มีต่อ)Summary: นอกจากนั้น ยังพบว่า การพัฒนาในด้าน การเจริญเติบโต ของผลมังคุด จะมีความสัมพันธ์ ในทางตรงกันข้าม กับปริมาณ ใบมังคุดที่ถูกทำลาย พบผลมังคุด จากต้นที่ใบ ถูกทำลายในอัตราสูงๆ จะมีผลเล็กลง โดยเฉลี่ย เมื่อใบถูกทำลาย 25-100% ผลจะมีน้ำหนัก ลดลง 11.49-20.28 กรัมต่อผล และ หลังการตัดใบอ่อน มังคุดทุกอัตรา ความเข้มของ แสงเหนือ และใต้ ทรงพุ่มมังคุดไม่แตกต่างกัน
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การศึกษาระหว่าง ตุลาคม 2450 - สิงหาคม 2541 ที่สวนมังคุด ศูนย์วิจัยพืชสวน จันทบุรี ซึ่งหลังการ เก็บเกี่ยวผลผลิต ในปี 2540 แล้ว ได้เตรียมต้นมังคุด ให้มีความสมบูรณ์ พร้อมที่จะออกดอกออกผล ในปีต่อไป โดยเฉพาะมีการกระตุ้น ให้แตกใบ อ่อน อย่างพร้อมเพรียง โดยใช้ไทโอยูเรีย (มีต่อ)

เมื่อมังคุด มีการแตกใบอ่อน ในเดือนตุลาคม 2540 จึงเริ่มดำเนิน การทดลอง โดยวางแผนการทดลอง แบบ RCB มี 6 ซ้ำ 5กรรมวิธี คือ ไม่ตัดใบ ตัดใบอ่อนที่คลี่ เต็มที่แล้ว ในอัตรา 20 50 75 และ 100% ของพื้นที่ ใบอ่อนทั่วทั้งต้น (แทนการกัดกิน ของแมลง) โดยใช้มังคุดซ้ำละ 1 ต้น (มีต่อ)

บันทึกการพัฒนา ของยอดมังคุด ที่ถูกตัดใบอ่อน ซ้ำละ 300ยอด โดยแบ่งเป็นยอดที่ระดับ บน กลาง และล่าง ของทรงพุ่มระดับละ 100 ยอด ทำการสำรวจทุกๆ14 วัน ผลการศึกษาพบว่า มังคุดที่ถูกทำลาย โดยการตัดใบมากๆ จะมีการแตกใบอ่อน บ่อยครั้งเพื่อชดเชยใบ ที่ถูกที่ทำลายไป โดยเฉพาะเมื่อใบ ถูกทำลาย (มีต่อ)

โดยการตัดใบ 100% ระหว่างช่วง การศึกษามีการแตกใบอ่อน 4 ครั้ง ในเดือน ธันวาคม 2540 มกราคม มีนาคม และมิถุนายน 2541 พบแตกใบอ่อน 85.22,87.95,99.35, และ 85.42% ตามลำดับ ขณะที่ยอดซึ่ง ไม่ถูกทำลาย มีการแตกใบอ่อน 3ครั้ง ในอัตรา 2.29,83.80 และ 99.28 % ตามลำดับ ยอดที่ถูกทำลาย 100% ออกดอกสูงสุดเฉลี่ย 12.13% (มีต่อ)

และติดผลเฉลี่ย 1.33% แตกต่างทางสถิติ กับมังคุด ที่ไม่มีการตัดใบอ่อน ซึ่งออกดอกสูงสุดเฉลี่ย 33.75% และติดผลเฉลี่ย 20.44% ซึ่งผลโดยรวมแล้ว มังคุดที่ใบถูกทำลาย โดยการตัดใบ 25-100% มีการออกดอก และติดผลลดลง 15.87-21.66% และ16.44-19.11% ตามลำดับ (มีต่อ)

นอกจากนั้น ยังพบว่า การพัฒนาในด้าน การเจริญเติบโต ของผลมังคุด จะมีความสัมพันธ์ ในทางตรงกันข้าม กับปริมาณ ใบมังคุดที่ถูกทำลาย พบผลมังคุด จากต้นที่ใบ ถูกทำลายในอัตราสูงๆ จะมีผลเล็กลง โดยเฉลี่ย เมื่อใบถูกทำลาย 25-100% ผลจะมีน้ำหนัก ลดลง 11.49-20.28 กรัมต่อผล และ หลังการตัดใบอ่อน มังคุดทุกอัตรา ความเข้มของ แสงเหนือ และใต้ ทรงพุ่มมังคุดไม่แตกต่างกัน