การศึกษาการรุกของน้ำเค็มในคลองอู่ตะเภาด้วยแบบจำลองคณิตศาสตร์แบบ 2 มิติ / สมบูรณ์ พรพิเนตพงศ์

By: สมบูรณ์ พรพิเนตพงศ์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | น้ำ -- วิจัย In: สงขลานครินทร์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2542) หน้า 473 - 482Summary: แบบจำลองคณิตศาสตร์ทางอุทกศาสตร์และการเคลื่อนที่ของน้ำเค็มแบบ 2 มิติ ได้รับการพัฒนาและประยุกต์กับคลองอู่ตะเภาเพื่อศึกษากลไกการรุกของน้ำเค็มในคลองอู่ตะเภา ผลที่ได้จากการจำลองถูกนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลการสำรวจภาคสนามระหว่างเดือนเมษายน-สิงหาคม 2540 จากการศึกษาสภาพไว (sensitivity) พบว่าสัมประสิทธิ์การแพร่ของความเค็มมีค่าเท่ากับ 0.006 ม(2)/วินาที และการพัดพาเป็นกระบวนการสำคัญในการรุกของน้ำเค็ม และยังพบว่าความเค็มในคลองอู่ตะเภามีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงความเค็มในทะเลสาบสงขลาและอัตราการไหลของน้ำท่า (มีต่อ)Summary: ผลการพยากรณ์ชี้ว่า ถ้าอัตราการไหลในฤดูแล้งมีค่าประมาณ 1 ลบ.ม/วินาที เป็นเวลาต่อเนื่องกัน 24 วัน น้ำเค็มสามารถรุกเข้าไปไกลถึง 23 กม.(อำเภอหาดใหญ่) และถ้าอัตราการไหลมากกว่า 5 ลบ.ม./วินาที คลองอู่ตะเภา มีแนวโน้มเป็นน้ำจืดตลอดสาย และจากการจำลองการเปลี่ยนแปลงความลึกของคลองอู่ตะเภาทำให้ทราบว่าการขุดลอกลำน้ำลงอึก 50% จะทำให้ความเค็มในคลองอู่ตะเภาเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ในขณะที่ถ้าเกิดการตื้นเขินขึ้น 50% การรุกของน้ำเค็มจะลดลงอย่างมาก อย่างไรก็ตามแบบจำลองฯ ยังไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์แบ่งชั้นของความเค็มอย่างฉับพลันที่บริเวณกึ่งกลางความลึกได้ ซึ่งควรทำการศึกษาต่อไป
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

แบบจำลองคณิตศาสตร์ทางอุทกศาสตร์และการเคลื่อนที่ของน้ำเค็มแบบ 2 มิติ ได้รับการพัฒนาและประยุกต์กับคลองอู่ตะเภาเพื่อศึกษากลไกการรุกของน้ำเค็มในคลองอู่ตะเภา ผลที่ได้จากการจำลองถูกนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลการสำรวจภาคสนามระหว่างเดือนเมษายน-สิงหาคม 2540 จากการศึกษาสภาพไว (sensitivity) พบว่าสัมประสิทธิ์การแพร่ของความเค็มมีค่าเท่ากับ 0.006 ม(2)/วินาที และการพัดพาเป็นกระบวนการสำคัญในการรุกของน้ำเค็ม และยังพบว่าความเค็มในคลองอู่ตะเภามีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงความเค็มในทะเลสาบสงขลาและอัตราการไหลของน้ำท่า (มีต่อ)

ผลการพยากรณ์ชี้ว่า ถ้าอัตราการไหลในฤดูแล้งมีค่าประมาณ 1 ลบ.ม/วินาที เป็นเวลาต่อเนื่องกัน 24 วัน น้ำเค็มสามารถรุกเข้าไปไกลถึง 23 กม.(อำเภอหาดใหญ่) และถ้าอัตราการไหลมากกว่า 5 ลบ.ม./วินาที คลองอู่ตะเภา มีแนวโน้มเป็นน้ำจืดตลอดสาย และจากการจำลองการเปลี่ยนแปลงความลึกของคลองอู่ตะเภาทำให้ทราบว่าการขุดลอกลำน้ำลงอึก 50% จะทำให้ความเค็มในคลองอู่ตะเภาเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ในขณะที่ถ้าเกิดการตื้นเขินขึ้น 50% การรุกของน้ำเค็มจะลดลงอย่างมาก อย่างไรก็ตามแบบจำลองฯ ยังไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์แบ่งชั้นของความเค็มอย่างฉับพลันที่บริเวณกึ่งกลางความลึกได้ ซึ่งควรทำการศึกษาต่อไป