ผลของความเค็มระดับต่างๆ ต่อการเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยา และเนื้อเยื่อวิทยาของปลากดเหลือง / วุฒิพร พรหมขุนทอง ... [และคนอื่นๆ]

Contributor(s): วุฒิพร พรหมขุนทองCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ปลากดเหลือง -- วิจัย In: สงขลานครินทร์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มีนาคม 2542) หน้า 53 - 64Summary: ทดลองเลี้ยงปลากดเหลืองขนาดปลานิ้ว ในน้ำที่มีความเค็มต่างๆ กัน 6 ระดับ คือ 0,3,5,7,10 และ 12 ppt เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เพื่อเปรียบเทียบผลต่อการเจริญเติบโต อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ, อัตราการรอดตาย, องค์ประกอบทางเคมีของเนื้อ, องค์ประกอบเลือด และการเปลี่ยนแปลงทางเนื้อเยื่อวิทยา การทดลองแต่ละชุดการทดลองแบ่งเป็น 3 ซ้ำ โดยใช้ปลา 20 ตัว ต่อซ้ำ จากการทดลองพบว่า ปลาที่เลี้ยงในน้ำที่มีความเค็ม 0 ถึง 7ppt ไม่มีความแตกต่างของการเจริญเติบโต อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ และอัตราการรอดตาย (มีต่อ)Summary: ในขณะที่ปลาที่เลี้ยงในน้ำที่มีความเค็ม 10 และ 12 ppt มีค่าดังกล่าวไม่ดี นอกจากนี้ยังพบว่ามีการเพิ่มขึ้นตามลำดับของออสโมลาริตี (osmolarity) และอิเลคโตรไลท์ (electrolyte) (โซเดียมและคลอไรด์) ในพลาสมาของเลือด (blood plasma) แอลบมิน (albumin) และฮีมาโตรคริต (hematocrit) เมื่อเลี้ยงปลาในน้ำที่มีความเค็มสูงขึ้นและเมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของตัวปลาพบว่า โปรตีนสูงขึ้นในขณะที่ไขมันลดลง และยังตรวจพบการเปลี่ยนแปลงทางเนื้อเยื่อวิทยาของเหงือกและไตในปลาที่เลี้ยงในน้ำที่มีความเค็มสูงกว่า 5ppt
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ทดลองเลี้ยงปลากดเหลืองขนาดปลานิ้ว ในน้ำที่มีความเค็มต่างๆ กัน 6 ระดับ คือ 0,3,5,7,10 และ 12 ppt เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เพื่อเปรียบเทียบผลต่อการเจริญเติบโต อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ, อัตราการรอดตาย, องค์ประกอบทางเคมีของเนื้อ, องค์ประกอบเลือด และการเปลี่ยนแปลงทางเนื้อเยื่อวิทยา การทดลองแต่ละชุดการทดลองแบ่งเป็น 3 ซ้ำ โดยใช้ปลา 20 ตัว ต่อซ้ำ จากการทดลองพบว่า ปลาที่เลี้ยงในน้ำที่มีความเค็ม 0 ถึง 7ppt ไม่มีความแตกต่างของการเจริญเติบโต อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ และอัตราการรอดตาย (มีต่อ)

ในขณะที่ปลาที่เลี้ยงในน้ำที่มีความเค็ม 10 และ 12 ppt มีค่าดังกล่าวไม่ดี นอกจากนี้ยังพบว่ามีการเพิ่มขึ้นตามลำดับของออสโมลาริตี (osmolarity) และอิเลคโตรไลท์ (electrolyte) (โซเดียมและคลอไรด์) ในพลาสมาของเลือด (blood plasma) แอลบมิน (albumin) และฮีมาโตรคริต (hematocrit) เมื่อเลี้ยงปลาในน้ำที่มีความเค็มสูงขึ้นและเมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของตัวปลาพบว่า โปรตีนสูงขึ้นในขณะที่ไขมันลดลง และยังตรวจพบการเปลี่ยนแปลงทางเนื้อเยื่อวิทยาของเหงือกและไตในปลาที่เลี้ยงในน้ำที่มีความเค็มสูงกว่า 5ppt