การประเมินความเสียหายของผึ้งพันธุ์ เนื่องจากไรทรอปิเลแลปส์ และการป้องกันกำจัด / ชุติกานต์ กิจประเสริฐ

By: ชุติกานต์ กิจประเสริฐCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ไรทรอปิเลแลปส์ | ผึ้ง In: กีฏและสัตววิทยา ปีที่ 21 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2542) หน้า 157 - 166Summary: จากการศึกษาความเสียหายของผึ้งพันธุ์ เนื่องจากการเข้าทำลายของไรทรอปิเลแลปส์ พบว่าระดับความรุนแรงของการเข้าทำลายของไรมีผลต่อการลดลงของประชากรตัวเต็มวัย และตัวอ่อนผึ้งภายในรัง เมื่อระดับการเข้าทำลายมากกว่า 30% จะมีผลให้ผึ้งทั้งรังอ่อนแอลงอย่างรวดเร็วและเป็นเหตุให้ผึ้งทั้งรังตายได้ในระยะเวลาประมาณ 3เดือน หากรังผึ้งรังนั้นไม่ได้รับการป้องกันกำจัดไรศัตรูผึ้ง ผลของการป้องกันกำจัดไรทรอปิเลแลปส์โดยวิธีขังผึ้งแม่รังร่วมกับการใช้กรดฟอร์มิค 65% ให้ประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดไรได้ดีสามารถลดการเข้าทำลายของไรได้ภายในระยะเวลา 28 วัน (มีต่อ)Summary: การหยุดชะงักระยะตัวอ่อนผึ้งภายในรังชั่วคราวจะมีผลทำให้ไรทรอปิเลแลปส์อยู่ในสภาพขาดอาหาร และมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 2-3วัน หลังจากที่ทำการป้องกันกำจัดไรโดยใช้วิธีนี้ผึ้งจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งในการเพิ่มประชากรตัวเต็มวัย และตัวอ่อน ดังนั้นควรกระทำในบริเวณเลี้ยงผึ้งที่มีพืชอาหารที่ให้เกสรและน้ำหวานแก่ผึ้งอย่างสมบูรณ์ ซึ่งจะมีส่วนช่วยทำให้ผึ้งฟื้นตัวเร็วขึ้น การหยุดระยะตัวอ่อนผึ้งภายในรังชั่วคราว นอกจากวิธีการขังผึ้งแม่รังแล้ว การเปลี่ยนผึ้งแม่รังภายในรัง ซึ่งผู้เลี้ยงผึ้งปฏิบัติอยู่ทุก 1-2ปี เป็นอีกช่วงที่เหมาะสำหรับทำการป้องกันกำจัดไรทรอปิเลแลปส์
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

จากการศึกษาความเสียหายของผึ้งพันธุ์ เนื่องจากการเข้าทำลายของไรทรอปิเลแลปส์ พบว่าระดับความรุนแรงของการเข้าทำลายของไรมีผลต่อการลดลงของประชากรตัวเต็มวัย และตัวอ่อนผึ้งภายในรัง เมื่อระดับการเข้าทำลายมากกว่า 30% จะมีผลให้ผึ้งทั้งรังอ่อนแอลงอย่างรวดเร็วและเป็นเหตุให้ผึ้งทั้งรังตายได้ในระยะเวลาประมาณ 3เดือน หากรังผึ้งรังนั้นไม่ได้รับการป้องกันกำจัดไรศัตรูผึ้ง ผลของการป้องกันกำจัดไรทรอปิเลแลปส์โดยวิธีขังผึ้งแม่รังร่วมกับการใช้กรดฟอร์มิค 65% ให้ประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดไรได้ดีสามารถลดการเข้าทำลายของไรได้ภายในระยะเวลา 28 วัน (มีต่อ)

การหยุดชะงักระยะตัวอ่อนผึ้งภายในรังชั่วคราวจะมีผลทำให้ไรทรอปิเลแลปส์อยู่ในสภาพขาดอาหาร และมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 2-3วัน หลังจากที่ทำการป้องกันกำจัดไรโดยใช้วิธีนี้ผึ้งจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งในการเพิ่มประชากรตัวเต็มวัย และตัวอ่อน ดังนั้นควรกระทำในบริเวณเลี้ยงผึ้งที่มีพืชอาหารที่ให้เกสรและน้ำหวานแก่ผึ้งอย่างสมบูรณ์ ซึ่งจะมีส่วนช่วยทำให้ผึ้งฟื้นตัวเร็วขึ้น การหยุดระยะตัวอ่อนผึ้งภายในรังชั่วคราว นอกจากวิธีการขังผึ้งแม่รังแล้ว การเปลี่ยนผึ้งแม่รังภายในรัง ซึ่งผู้เลี้ยงผึ้งปฏิบัติอยู่ทุก 1-2ปี เป็นอีกช่วงที่เหมาะสำหรับทำการป้องกันกำจัดไรทรอปิเลแลปส์